เต่าปูลู

เต่าปูลู เป็นเต่าน้ำจืดกินเนื้อเป็นอาหารชนิดหนึ่ง ซึ่งมีเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในวงศ์และสกุลนี้ มีรูปร่างที่แปลกไปจากเต่าชนิดอื่น ๆ กล่าวคือ มีหัวที่โต ปากงุ้มแหลม เล็บที่ทั้ง 4 ข้างแหลมคมมาก มีหางที่ยาวมาก และไม่สามารถหดหัวเข้ากระดองที่เรียวยาวได้ เป็นเต่าที่พบในลำธารน้ำตกบนภูเขาสูงหรือป่าดิบชื้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตอนบนที่ติดกับตอนใต้ของประเทศจีน

สล็อตออนไลน์

มีหัวว่าวใหญ่มาก มีขนาดกว้างหัวประมาณครึ่งหนึ่งของความกว้างกระดองหลัง มีปากงุ้มแหลมคล้ายปากนกแก้ว หัวหดเข้ากระดองไม่ได้ แต่มีคอยาวยื่นออกมาได้มาก เคลื่อนไหวได้รวดเร็ว มีความสามารถในการปีนต้นไม้และก้อนหิน ขาและเท้าของเต่าปูลูมีขนาดใหญ่และแข็งแรงหดเข้ากระดองไม่ได้ ขาหน้าและขาหลังของเต่าปูลูมีเกล็ดหุ้มทั้งหมด ตั้งแต่โคนขามีเกล็ดขนาดใหญ่ ฝ่าเท้ามีเกล็ดขนาดเล็กลงมา นิ้วมีเกล็ดหุ้ม มีเล็บแหลมคม ขาหน้ามี 5 นิ้ว ขาหลังมี 4 นิ้ว มีเยื่อพังผืดเล็กน้อยยึดระหว่างนิ้วเกือบถึงโคนเล็บ หางมีขนาดใหญ่และแข็งแรง มีเกล็ดขนาดใหญ่หุ้มเกล็ดหางด้านบนมี 1 แถว ๆ ละ 1 เกล็ด เรียงจากโคนหางมีประมาณ 11 ถึง 14 แถว เกล็ดหางด้านล่างแถวที่ 1 ถึง 4 มีสี่เกล็ดจากแถวที่ห้าถึงปลายหางมีแถวละสองเกล็ดบริเวณโคนหางและโคนขาหลังมีเดือยหนังแหลมยื่นออกมาจำนวนมาก หางของเต่าปูลูยาวมาก มีความยาวมากกว่าความยาวกระดองหลังในอัตราเฉลี่ยความยาวกระดองหลังต่อความยาวหาง มีค่าเท่ากับ 1:1.34 เต่าปูลูจึงจัดว่าเป็นเต่าที่มีหางยาวที่สุดในโลก

jumboslot

เต่าปูลูขนาดเล็ก ที่ยังไม่โตเต็มวัย เกล็ดสันหลัง มีลักษณะเป็นสันแนวกลางหลังทั้ง 5 แผ่น เกล็ดชายโครง ทั้ง 4 คู่ มีปุ่มหนาที่บริเวณกลางของแต่ละเกล็ด เกล็ดขอบกระดอง มีหยักปลายแหลมเล็กน้อย ส่วนกระดองท้องมีลักษณะดาร์ก ซิมเมตริคอล มาร์กิ้งส์ กระดองหลังสีน้ำตาลแดง กระดองท้องสีเหลือง ผิวหนังด้านท้องสีเหลือง ด้านข้างของหัวทั้งสองด้านจากท้ายตามีเส้นสีดำ 1 คู่ พาดยาวไปทางด้านหลัง ระหว่างกลางเส้นสีดำมีสีเหลือง ขาทั้ง 4 ด้านบนสีดำด้านล่างสีเหลือง แต่เมื่อโตเต็มวัย ลักษณะสันกลางหลัง ปุ่มหนามที่เกล็ดชายโครงและรอยหยักที่เกล็ดขอบกระดอง จะหายไปจนหมด ส่วนลักษณะดาร์ก ซิมเมตริคอล มาร์กิ้งส์ ที่กระดองท้องสีทั้งหมดจะหายไป หรือจางลงจนสังเกตเห็นไม่ชัด เส้นคู่สีดำข้างหัวจะหายไปด้วย เต่าปูลูตัวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบในประเทศไทย พบที่จังหวัดลำปางมีน้ำหนัก 910 กรัม ความยาวกระดองหลัง 18.7 เซนติเมตร ความกว้างกระดองหลัง 14.5 เซนติเมตร ความกว้างหัว 6.5 เซนติเมตร ความยาวหาง 23 เซนติเมตร

เครดิตฟรี

สถานภาพปัจจุบัน เป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เนื่องจากถูกคุกคามถิ่นที่อยู่อาศัยและถูกจับเป็นสัตว์เลี้ยงและปรุงยาสมุนไพรด้วยเชื่อว่าเป็นยาที่ใช้บำรุงสมรรถนะทางเพศ โดยชาวจีนจะรับซื้อในราคาที่แพง นอกจากนี้แล้วยังมีการให้กัดกันเพื่อเป็นเกมการพนันอีกด้วย ในประเทศไทย นอกจากที่จังหวัดลำปางแล้ว เต่าปูลูยังพบได้ที่ จังหวัดอุตรดิตถ์ ที่อุทยานแห่งชาติคลองตรอน อำเภอน้ำปาด, จังหวัดพิษณุโลก พบที่อำเภอนครไทย, จังหวัดน่าน พบที่ป่าห้วยหลวง ตำบลเรือง อำเภอเมืองน่าน และ อุทยานแห่งชาติขุนน่าน รวมถึงอีกหลายที่ในจังหวัดภาคเหนือ ในปัจจุบันมีโครงการอนุรักษ์เต่าปูลูอยู่ที่ หมู่บ้านนาตอง ตำบลช่อแฮ จังหวัดแพร่ และ อุทยานแห่งชาติภูสวนทราย อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย สำหรับการนำมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยงนั้น เต่าปูลูมักไม่ค่อยรอด เนื่องจากเป็นเต่าที่อาศัยอยู่ในน้ำที่มีสภาพเป็นลำธารน้ำตกเท่านั้น อีกทั้งยังปีนป่ายเก่ง มีอุปนิสัยดุ จะฉกงับทุกอย่าง จึงทำให้เป็นเต่าที่เลี้ยงยากมาก

สล็อต